ภูมิหลัง ของ ข้อถกเถียงกรณีหนังสือ โองการปีศาจ

ผลงานเขียนของซัลมัน รัชดี เป็นกรณีถกเถียงมาก่อนกรณีของ โองการปีศาจ รัชดีระบุว่าเขามองบทบาทของตนในฐานะนักเขียนว่าเป็น "ผู้รวมเอาบทบาทของตัวร้ายมาสู่รัฐ" ("as including the function of antagonist to the state")[9] หนังสือเล่มที่สองของเขา Midnight's Children ทำให้อินทิรา คานธี โกรธมากเนื่องจากเนื้อหาของหนังสือเสนอโดยอ้อมว่าเธอเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของสามีเธอ เฟโรเซ คานธี เพราะขาดการเอาใจใส่สามีพอ[10] ส่วน roman à clef จากปี 1983 ของเขา เรื่อง Shame ยังเป็นการอ้างโดยอ้อมถึงปากีสถานและการเมืองของปากีสถาน[10]

รัชดีปกป้องหลายคนที่ต่อมาในอนาคตจะเป็นผู้ที่โจมตีเขาในกรณีพิพาทของหนังสือเล่มนี้ รัชดีประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลของชาห์แห่งอิหร่าน และสนับสนุนการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน อย่างน้อยก็ในช่วงแรกของการปฏิวัติ เขาประณามการบุกโจมตีเมืองทรีโปลีในปี 1986 โดยสหรัฐ ก่อนที่ในสามปีต่อมาจะถูกผู้นำลิเบีย มุอัมมาร์ อัลกัดดาฟี โจมตีกลับ[11] เขายังเียนหนังสือเหน็บแนมและประณามนโยบายต่างประเทศสหรัฐและสงครามของสหรัฐในนิการากัว เคยด่ารัฐบาลสหรัฐว่า "เป็นโจรที่ทำตัวเป็นรัฐ"[12] แต่กระนั้น เขาก็ถูกรัฐบาลอิหร่านหลังการประกาศฟัตวามองว่าเป็น "เจ้าหน้าที่ซีไอเอระดับล่าง"[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อถกเถียงกรณีหนังสือ โองการปีศาจ http://www.iranfocus.com/modules/news/article.php?... http://english.aljazeera.net/news/asia/2007/06/200... http://books.guardian.co.uk/comment/story/0,,21096... https://books.google.com/books?id=wYkQXO4sEoAC&pri... https://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9F... https://www.theguardian.com/books/2012/sep/14/look... https://swap.stanford.edu/20090417232632/http://ww... https://web.archive.org/web/20071219121900/http://... https://web.archive.org/web/20090224152053/http://... https://web.archive.org/web/20141008194257/http://...